อยากติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง

อยากติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ต้องเตรียมอะไรบ้าง

2009-ติดตั้ง-ev-chager-ที่บ้านA.jpg
6 ข้อ ที่ต้องเตรียม หากอยากติดตั้ง EV Charger (เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า) ที่บ้าน ?

นอกจาก ซื้อรถไฟฟ้า พร้อมที่ชาร์จ EV Charger แล้ว เรายังต้องเตรียมบ้านของเราให้พร้อมด้วย!! ไม่งั้นก็ติดตั้งไม่ได้นะ มาดูกันว่าควรเตรียมบ้านอย่างไร หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังอยากติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน 
.
ติดตั้ง-ev-chager-ที่บ้าน-A.jpg

.
1. ขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้าน ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟใหม่ ให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ก็ควรใช้ขนาด 15/45 เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณการใช้ไฟในบ้านที่มากขึ้น แต่การพิจารณาว่าจะใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็ต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้า และคุณสมบัติของเครื่องชาร์จที่จะนำมาติดตั้ง EV Charger ที่บ้านด้วย

2. ตรวจสอบขนาดสายไฟเมน

ก่อนจะติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ต้องเช็กขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม หากยังเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.) ซึ่งเป็นขนาดของสายทองแดงนั่นเอง รวมไปถึงเช็กตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ด้วย

3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)

ดูว่ายังมีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือไม่? เพราะการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน จะต้องแยกช่องจ่ายไฟออกไปต่างหาก และช่องว่างนั้นควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย

4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC)

เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device) มีไว้สำหรับตัดวงจร เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้ได้ ใครที่จะติดตั้ง EV Charger ที่บ้านควรมีไว้เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD Type B หรือเทียบเท่า

5. เต้ารับ

เต้ารับสำหรับการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน จะไม่เหมือนเต้ารับเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู และใช้หลักดิน(สายดิน) แยกออกจากหลักดินของระบบไฟเดิมของบ้าน โดยสายต่อหลักดิน สำหรับติดตั้ง EV Charger ที่บ้านควรเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดินควรเชื่อมต่อด้วยความร้อน

6. เช็กตำแหน่งที่จะติดเต้ารับก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

ก่อนจะติดตั้งเต้ารับ EV Charger ที่บ้าน ควรเช็กตำแหน่งที่จะติดตั้งด้วยว่าระยะห่างเหมาะสมกับความยาวของชาร์จหรือไม่ เพราะระยะความยาวของสายชาร์จส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 เมตร และตำแหน่งที่ติดตั้งควรอยู่ในที่ร่ม สามารถป้องกันแดด-ป้องกันฝนได้ แม้ว่าตัวเต้ารับจะเป็นรุ่นที่ระบุว่าไว้ภายนอกบ้านได้ก็ตาม

ดั้งนั้น หากอยากติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ต้องมาทำความรู้จักกับ EV Charger กันก่อน..
EV Charger มีด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้
1. Normal Charge หรือ AC Charge : เป็นการชาร์จจากเต้ารับในบ้านโดยตรง ใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ควรเช็กปริมาณการใช้ไฟในบ้านร่วมกับเครื่องชาร์จไฟก่อนว่า ระบบไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่รองรับการใช้งานได้หรือไม่ 
2. Doble Speed Charge : ชาร์จด้วย Wall Box การชาร์จไฟกระแสสลับผ่านตัวแปลงไฟ ใช้เวลาน้อยกว่า อยู่ที่ประมาณ 4-7 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรีและรุ่นของรถด้วยเช่นกัน 
3. Quick Charge : การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้าตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ในเวลาอันรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 40-60 นาที เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสถานีชาร์จไฟนอกบ้าน เช่น ห้างสรรพสินค้าและจุดแวะพักรถต่าง ๆ  ไม่เหมาะกับการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยอำนวยความสะดวกการเตรียมตัวก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน โดยสามารถติดต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ เนื่องจากจะต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. หากสามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้ แนะนำเป็นการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้าน ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

บ้านทั่วๆ ไป จะมีขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า คือ Sigle-Phase 5(15)A  หรือ Sigle-Phase 15(45)A การไฟฟ้าแนะนำขนาดไฟที่ควรจะเป็นคือ Sigle-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 14(45)A
2. หากไม่สะดวกปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 เพื่อแยกระบบไฟฟ้าได้ โดยการให้บริการจะเป็นลักษณะเดียวกับการให้บริการติดตั้งมิเตอร์ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ โดย 1 บ้านเลขที่ มี 2 หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) โดยมิเตอร์เครื่องที่ 1 และมิเตอร์เครื่องที่ 2 ให้กำหนดเป็นประเภทผู้ใช้ไฟเดียวกัน (เช่น มิเตอร์เครื่องที่ 1 เป็นผู้ใช้ไฟประเภทกิจการขนาดเล็ก มิเตอร์เครื่องที่ 2 ต้องเป็นประเภทกิจการขนาดเล็ก) แต่สามารถเลือกใช้คนละอัตราค่าไฟได้ (อัตราปกติกับอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้: TOU) เท่านี้ก็สามารถติดตั้ง EV Charger ที่บ้านได้เช่นกัน
.
และยังต้องตรวจเช็กไฟฟ้าของบ้าน และหมู่บ้าน ของเราก่อน ว่าสามารถรองรับการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ได้หรือไม่ กระแสไฟฟ้าในโครงการตอบโจทย์การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านหรือไม่ และเราต้องเตรียมระบบไฟในบ้านอย่างไรบ้าง วันนี้มาดูวิธีตรวจสอบเบื้องต้น จากการไฟฟ้านครหลวงกัน...
.
มาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า สำหรับ EV ที่ทุกบ้านควรมีก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
ติดตั้ง-ev-chager-ที่บ้าน-การไฟฟ้า.jpg
ติดตั้ง-ev-chager-ที่บ้าน-การไฟฟ้า2.jpg
ติดตั้ง-ev-chager-ที่บ้าน-การไฟฟ้า3.jpg
.
ดังนั้นใครที่กำลังแพลนจะซื้อรถไฟฟ้า และจะติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เพื่อชาร์จได้สะดวกๆ อย่าลืมตรวจเช็กระบบไฟในบ้านกันก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้านด้วยนะ หากไม่อยากเดินเรื่องติดตั้งระบบไฟฟ้าต่างๆ เอง ก็สามารถเลือกโครงการที่รองรับการติดตั้ง EV Charger ที่บ้านของศุภาลัยได้เลย สะดวกสบายสุดๆ
________________________________________
ที่มาข้อมูลการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน  : www.mea.or.th, https://www.pea.co.th, https://home.kapook.com, เพจ คุยกับลุงช่าง, https://thestandard.co

Date : 06 Nov 2023

  • เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ คุณต้องยอมรับคุกกี้
    เพื่อใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถตรวจสอบ นโยบายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • นโยบายว่าด้วยการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล